วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

สายพานลำเลียงและรถAGV

 

ระบบ AGV และสายพานลำเลียง

    ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) 

    รถ AGV  (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า เป็นเครื่องจักรประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถ Fork lift ความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกกำหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV ต้องติดตั้งเส้นทางการวิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังสายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ ควบคุมรถ AGV สามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้คำสั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของรถ AGV หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGVอีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ

    รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที 

    รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

    ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ     


ประเภทของการใช้งานรถ AGV

ประเภทระบบลำเลียงแบบโซ่ (Chain Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา




ประเภทระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา


ประเภทโฟล์ค (Fork)
ใช้สำหรับยก/วาง ระหว่างพื้นและอุปกรณ์ลำเลียง

ประเภทขนย้ายม้วนวัสดุ(Roll Handling)
ใช้สำหรับขนย้ายม้วนวัสดุ ไป/มา ระหว่างเครื่องจักร

ประเภทบรรทุก (Tunnel Tow)
ใช้สำหรับลากจูงโดยจะวางอยู่ข้างใต้รถเข็น/รถลาก


ประเภทลากจูง (Front Tow)
ใช้เป็นพาหนะลากจูงรถเข็น (คล้ายรถไฟ) สามารถใช้เป็นแบบอัตโนมัติหรือพนักงานบังคับก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์

ประเภท Mini-load
Mini-load AGV เหมาะสำหรับการจัดส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ไปยังโรงประกอบ

การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV

 หลักการใช้งานและการควบคุมความปลอดภัยของรถ AGV ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) เป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้รถทำงานได้โดย ให้รถแต่ละคันมีอิสระต่อกัน สามารถขับเคลื่อน ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำทางด้วย เส้นทางขนส่งที่ฝังอยู่บนพื้นของโรงงาน รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ในตัวรถซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ในระยะหนึ่งจากนั้นต้องทำการอัดแบตเตอรี่ใหม่การกำหนดเส้นทางขนส่งของระบบ AGV นี้อาจจะทำได้โดยใช้สายไฟฟ้าฝังอยู่กับพื้นโรงงาน หรือใช้สีสะท้อนแสงทาบนพื้นโรงงานก็ ได้รถจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ในการนำทาง รถ AGV ที่
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) 
ระบบสายพานลำเลียง คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
    นอกจากนี้ยังมีระบบสายพานแบบอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่ละแบบจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามรูปลักษณ์ และวัสดุที่ใช้ เช่น


Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบ สายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นวัสดุประเภท PVC, PU หรืออาจเป็นวัสดุอื่นๆ ที่เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) เมื่อใช้กับอาหารสายพานประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ลำเลียงวัตถุได้หลากหลายประเภท รวมทั้งอาหารที่อยู่ในบรรจุภุณฑ์เรียบร้อยแล้ว พื้นผิวของสายพานจะมีทั้งแบบผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ และแบบที่ติดโปรไฟล์กั้นเป็นบล็อคๆ สามารถใช้ลำเลียงได้ทั้งในแนวระนาบ และลาดชัน


 Mini Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ใช้สายพานเป็น PVC หรือ PU ระบบสายพานลำเลียงที่มีขนาดเล็ก กว้างไม่เกิน 30cm. และ ยาวไม่เกิน 2m. วัสดุที่ใช้ และรูปลักษณ์จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน และสเปคที่ลูกค้าระบุ ใช้สำหรับลำเลียงสินค้าหรือวัตถุที่มีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป

Rubber Belt Conveyor คือ ระแบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นสายพานยางดำ มีทั้งแบบชนิดเรียบ และชนิดบั้ง ส่วนใหญ่จะใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทาน และมีการรับน้ำหนักที่มากเป็นพิเศษ


  Roller Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียง ที่ไม่ใช้สายพาน แต่จะใช้เพียงแค่ลูกกลิ้งเพื่อลำเลียงสินค้า โรลเลอร์ (roller) เป็นตัวพาสินค้าให้เคลื่อนที่ไป สามารถลำเลียงได้ทั้งในแนวตรง และแนวโค้งงอ

ประเภทของ Roller ConveyorPower 

Roller Conveyor จะเป็นประเภทที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน ลูกกลิ้งแต่ละลูกจะถูกหมุนด้วยแรงของมอเตอร์ และพาสินค้าให้เคลื่อนที่ไป Free Roller Conveyor จะเป็นประเภทที่ไม่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน อาจใช้แรงคนในการผลัก ดึง หรือลาก เพื่อให้สินค้าเคลื่อนที่



  Top Chain Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่พลาสติก หรือโซ่สเตนเลสมาใช้แทนสายพาน ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่เป็นตัวขับเคลื่อน และลำเลียงวัตถุ โดยที่ตัวโซ่ด้านบนจะมีปีกแบนๆ เพื่อใช้วางวัตถุ โซ่จะเรียงต่อกันคล้ายก้างปลา เมื่อเรียงต่อกันสามารถทำมุมโค้งงอได้ถึง 90 องศา มีทั้งแบบที่ใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก และสเตนเลส เหมาะแก่การลำเลียงชิ้นงานเล็กๆ เช่น ลำเลียงขวดกระป๋องแก้ว หรือชิ้นงานบรรจุถุง เป็นต้น


Wire Mesh Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นตะแกรงโลหะ มีทั้งแบบที่ทำมาจากเหล็ก และสเตนเลส มีทั้งแบบลวดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีทั้งแบบตะแกรงตาถี่ และตะแกรงตาห่าง เหมาะสำหรับลำเลียงวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง และถ้าใช้เป็นตะแกรงแบบที่เป็นสเตนเลสก็สามารถใช้ลำเลียงอาหารได้ด้วย


 Modular Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นพลาสติกชนิดพิเศษ ที่มีความแข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการเสียดสี ทนต่ออุณหภูมิที่ไม่ปกติได้ตั้งแต่ -60 ถึง +180 องศาเซลเซียส (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ) สามารถใช้ลำเลียงอาหาร หรือวัตถุอื่นใดก็ได้ตามต้องการ และตามความเหมาะสม จุดเด่นที่สำคัญคือการทนต่ออุณภูมิ ความแข็งแรง และอายุการใช้งาน


 Overhead Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่จะลำเลียงวัตถุไว้ที่ความสูงระดับเหนือศรีษะขึ้นไป ที่วางสินค้าอาจมีลักษณะเป็นกระเช้าแขวน หรือตะขอเกี่ยว เหมาะกับโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดหรือต้องการประหยัดพื้นที่ สามารถเก็บสต็อกสินค้าไว้บนกระเช้าแขวนได้ นอกจากจะช่วยประหยัดพื้นที่แล้ว ยังช่วยเพิ่มความเป็นระเบียบให้กับโรงงานอีกด้วย
ตัวอย่างวีดีโอ

สายพานลำเลียง



รถ AGV

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน

  รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน ลำดับที่                                    รายชื่อ                                                              ...