วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน

 รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน

ลำดับที่                                    รายชื่อ                                                                ชื่อเล่น

000                              อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค                                                  อาจารย์ปาล์ม      

001                              นาย สุรพิชญ์ ศรีสุวรรณ                                                    ชาย

002                             นาย สันหวัช เพร็ชรสวัสดิ์                                                 โจ

004                       นาย อาดีนัน โสธามาต                                                      ดีนจอ

005                             นาย นัฐกิตย์ อ่อนยัง                                                          ปิน 

006                             นาย ปฏิพัทธ์ หนูน้อย                                                        อิ้งค์

007                             นาย บัสซัมร์ เตะมัน                                                           บัสซัม

008                             นาย ศุภกฤต อุทัยพันธ์                                                       อาร์ม

009                             นาย ณัฐพงศ์ ทองพิมพ์                                                      แบงค์

010                             นาย ณัฐวัฒน์ บุญรัตน์                                                        ยอด

012                       นาย ณัฐวัฒน์ ดำโอ                                                           เฟรม

013                             นาย ศิวานนท์ ชมภูแก้ว                                                       ก้าน

014                       นาย เจตุพล เถี่ยวสังข์                                                เชน

015                             นาย สุภัทร เเก้วมี                                                                ก้อง

016                             นาย ภานุ สุขสวัสดิ์                                                              บิ๊ก

017                       นาย ปิยวัฒน์ เอียดมาอ่อน                                                    วิม

018                        นาย รอมฎอน เบ็ญโกบ                                                        ฎอน

019                             นาย เจตนิพัทธ์ บัวทอง                                                        เบียร์

020                             นาย ทัชมา นิยมเดชา                                                           ยุท

021                             นาย กฤษณะ ทองประศรี                                                       ออมสิน

022                       นาย กิตติศักดิ์ ละแม                                                   ริฟ

023                             นาย กูซาฟีอี สุหลง                                                               อี

024                             นาย ขจรศักดิ์ หวังเกตุ                                                           เขตต์

025                       นาย คมกฤษ กสิกรรมไพบูลย์                                                 จง

026                             นาย คมศักดิ์ เอียดแก้ว                                                           สิงห์

027                             นาย ฆอซาลี โต๊ะหีม                                                               ลี

028                             นาย ชัยวัฒน์ พันธ์ฤทธิ์ดำ                                                       ปอ

029                       นาย ชาญชัย ดวงจักร์                                                             บาส

030                       นาย ซอฟารีย์ เหร็มเหระ                                                          รี

031                             นาย ซับรี อาแว                                                                      บรี

032                             นาย ฐิติศักดิ์ พิทักษ์                                                                เชน

033                             นาย ณรงค์ฤทธิ์ นวลบุญ                                                          พุฒ

034                             นาย ณรงค์ศักดิ์ แกล้วทนงค์                                                     แบ็ท

035                       นายณัชพล แก้วถาวร                                                               แม็ก

036                             นาย ณัฐพล ช่วยดี                                                                   ชิ

037                       นาย ทัตเทพ ชนิลธรชัย                                                           เลย์

038                       นาย ธีรวุฒิ ขุนเจริญ                                                                  อั้ั๋น

039                             นาย ธีระพงศ์ รักษ์จันทร์                                                           เอฟ

040                             นาย นราวิชญ์ ช้างประเสริฐ                                                       โดม

041                             นาย นัฐพล ชะนะชัย                                                                 อั้ม

043                             นาย นาวี เทพลักษณ์                                                                 วี

044                             นาย ปรินทร หวัดเพชร                                                               บอล

042                       นาย ณัฐพล ราชแก้ว                                                                 พี 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

สายพานลำเลียงและรถAGV

 

ระบบ AGV และสายพานลำเลียง

    ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) 

    รถ AGV  (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า เป็นเครื่องจักรประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถ Fork lift ความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกกำหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV ต้องติดตั้งเส้นทางการวิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังสายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ ควบคุมรถ AGV สามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้คำสั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของรถ AGV หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGVอีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ

    รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที 

    รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

    ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ     


ประเภทของการใช้งานรถ AGV

ประเภทระบบลำเลียงแบบโซ่ (Chain Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา




ประเภทระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง (Roller Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา


ประเภทโฟล์ค (Fork)
ใช้สำหรับยก/วาง ระหว่างพื้นและอุปกรณ์ลำเลียง

ประเภทขนย้ายม้วนวัสดุ(Roll Handling)
ใช้สำหรับขนย้ายม้วนวัสดุ ไป/มา ระหว่างเครื่องจักร

ประเภทบรรทุก (Tunnel Tow)
ใช้สำหรับลากจูงโดยจะวางอยู่ข้างใต้รถเข็น/รถลาก


ประเภทลากจูง (Front Tow)
ใช้เป็นพาหนะลากจูงรถเข็น (คล้ายรถไฟ) สามารถใช้เป็นแบบอัตโนมัติหรือพนักงานบังคับก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์

ประเภท Mini-load
Mini-load AGV เหมาะสำหรับการจัดส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ไปยังโรงประกอบ

การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV

 หลักการใช้งานและการควบคุมความปลอดภัยของรถ AGV ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) เป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้รถทำงานได้โดย ให้รถแต่ละคันมีอิสระต่อกัน สามารถขับเคลื่อน ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำทางด้วย เส้นทางขนส่งที่ฝังอยู่บนพื้นของโรงงาน รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ในตัวรถซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ในระยะหนึ่งจากนั้นต้องทำการอัดแบตเตอรี่ใหม่การกำหนดเส้นทางขนส่งของระบบ AGV นี้อาจจะทำได้โดยใช้สายไฟฟ้าฝังอยู่กับพื้นโรงงาน หรือใช้สีสะท้อนแสงทาบนพื้นโรงงานก็ ได้รถจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ในการนำทาง รถ AGV ที่
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) 
ระบบสายพานลำเลียง คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต
    นอกจากนี้ยังมีระบบสายพานแบบอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่ละแบบจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามรูปลักษณ์ และวัสดุที่ใช้ เช่น


Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบ สายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นวัสดุประเภท PVC, PU หรืออาจเป็นวัสดุอื่นๆ ที่เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) เมื่อใช้กับอาหารสายพานประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ลำเลียงวัตถุได้หลากหลายประเภท รวมทั้งอาหารที่อยู่ในบรรจุภุณฑ์เรียบร้อยแล้ว พื้นผิวของสายพานจะมีทั้งแบบผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ และแบบที่ติดโปรไฟล์กั้นเป็นบล็อคๆ สามารถใช้ลำเลียงได้ทั้งในแนวระนาบ และลาดชัน


 Mini Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ใช้สายพานเป็น PVC หรือ PU ระบบสายพานลำเลียงที่มีขนาดเล็ก กว้างไม่เกิน 30cm. และ ยาวไม่เกิน 2m. วัสดุที่ใช้ และรูปลักษณ์จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน และสเปคที่ลูกค้าระบุ ใช้สำหรับลำเลียงสินค้าหรือวัตถุที่มีขนาดเล็ก และมีน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป

Rubber Belt Conveyor คือ ระแบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นสายพานยางดำ มีทั้งแบบชนิดเรียบ และชนิดบั้ง ส่วนใหญ่จะใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทาน และมีการรับน้ำหนักที่มากเป็นพิเศษ


  Roller Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียง ที่ไม่ใช้สายพาน แต่จะใช้เพียงแค่ลูกกลิ้งเพื่อลำเลียงสินค้า โรลเลอร์ (roller) เป็นตัวพาสินค้าให้เคลื่อนที่ไป สามารถลำเลียงได้ทั้งในแนวตรง และแนวโค้งงอ

ประเภทของ Roller ConveyorPower 

Roller Conveyor จะเป็นประเภทที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน ลูกกลิ้งแต่ละลูกจะถูกหมุนด้วยแรงของมอเตอร์ และพาสินค้าให้เคลื่อนที่ไป Free Roller Conveyor จะเป็นประเภทที่ไม่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน อาจใช้แรงคนในการผลัก ดึง หรือลาก เพื่อให้สินค้าเคลื่อนที่



  Top Chain Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่พลาสติก หรือโซ่สเตนเลสมาใช้แทนสายพาน ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่เป็นตัวขับเคลื่อน และลำเลียงวัตถุ โดยที่ตัวโซ่ด้านบนจะมีปีกแบนๆ เพื่อใช้วางวัตถุ โซ่จะเรียงต่อกันคล้ายก้างปลา เมื่อเรียงต่อกันสามารถทำมุมโค้งงอได้ถึง 90 องศา มีทั้งแบบที่ใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก และสเตนเลส เหมาะแก่การลำเลียงชิ้นงานเล็กๆ เช่น ลำเลียงขวดกระป๋องแก้ว หรือชิ้นงานบรรจุถุง เป็นต้น


Wire Mesh Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นตะแกรงโลหะ มีทั้งแบบที่ทำมาจากเหล็ก และสเตนเลส มีทั้งแบบลวดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีทั้งแบบตะแกรงตาถี่ และตะแกรงตาห่าง เหมาะสำหรับลำเลียงวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง และถ้าใช้เป็นตะแกรงแบบที่เป็นสเตนเลสก็สามารถใช้ลำเลียงอาหารได้ด้วย


 Modular Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นพลาสติกชนิดพิเศษ ที่มีความแข็งแรงสูง ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อการเสียดสี ทนต่ออุณหภูมิที่ไม่ปกติได้ตั้งแต่ -60 ถึง +180 องศาเซลเซียส (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ) สามารถใช้ลำเลียงอาหาร หรือวัตถุอื่นใดก็ได้ตามต้องการ และตามความเหมาะสม จุดเด่นที่สำคัญคือการทนต่ออุณภูมิ ความแข็งแรง และอายุการใช้งาน


 Overhead Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่จะลำเลียงวัตถุไว้ที่ความสูงระดับเหนือศรีษะขึ้นไป ที่วางสินค้าอาจมีลักษณะเป็นกระเช้าแขวน หรือตะขอเกี่ยว เหมาะกับโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดหรือต้องการประหยัดพื้นที่ สามารถเก็บสต็อกสินค้าไว้บนกระเช้าแขวนได้ นอกจากจะช่วยประหยัดพื้นที่แล้ว ยังช่วยเพิ่มความเป็นระเบียบให้กับโรงงานอีกด้วย
ตัวอย่างวีดีโอ

สายพานลำเลียง



รถ AGV

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม

 

1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์อเนกประสงค์

หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆ

โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม




2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

การประกอบ    โคบอทมีบทบาทสำคัญในโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่ง นั่นรวมไปถึงการประกอบชิ้นส่วน หุ่นยนต์อัตโนมัติสามารถจัดการกับงานที่ซ้ำซากจำเจในสายการผลิตได้ เช่น การติดที่จับประตูและที่ปัดน้ำฝน ซึ่งช่วยให้พนักงานที่เป็นมนุษย์มีอิสระในการทำงานที่มีมูลค่ามากกว่า โคบอทที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงกว่า เช่น UR16e (น้ำหนักบรรทุก 16 กก./35.3 ปอนด์) สามารถจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เช่น ล้อ ฝากระโปรงรถและฝากระโปรงหน้าเครื่องยนต์


    Lear Corporation ใช้โคบอท UR5 ที่มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบาเพื่อช่วยในการประกอบเบาะรถยนต์ โคบอท UR5 มีขนาดเล็ก (Ø 149 มม.) ทำให้สามารถทำงานได้ในพื้นที่แคบ เช่น การช่วยประกอบเบาะรถยนต์และที่พักแขน ที่ Lear โคบอท UR5 สามารถขันสกรูได้ 8,500 ครั้งต่อวัน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเวลาในสายการผลิต Lear ใช้งานโคบอท UR ตัวแรกในปี 2017 – วันนี้บริษัทมีหุ่นยนต์ UR 38 ตัวในโรงงานผลิตที่จีน ซึ่งใช้สำหรับการขันสกรูเบาะรถยนต์ การตรวจสอบระบบไฟฟ้า การหยิบและวาง และกระบวนการที่สำคัญอื่น ๆ



3.หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด  หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์


    สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ 




4.หุ่นยนต์อัจฉริยะ

หุ่นยนต์ทำอาหาร ด้วยรูปร่างของหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นแขน 2 ข้างใช้ทำงานเลียนแบบมนุษย์ ผู้ใช้งานเพียงแค่ป้อนข้อมูลเมนูอาหารที่ต้องการเข้าไปในระบบ หุ่นยนต์จะทำการปรุงอาหารโดยอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็เตรียมรับอาหารฝีมือระดับเชฟได้เลย และนอกจากปรุงอาหารแล้วเจ้าหุ่นยนต์ Moley ยังสามารถล้างจานได้อีกด้วยนะ






วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2565

เครื่องจักร NC CNC และ DNC

 นาย นาวี  เทพลักษณ์ 043

เครื่องจักร NC CNC และ DNC

          เครื่องจักร NC

          NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว






https://youtu.be/uVOwFZ0ZL6I

   เครื่องจักร CNC

      CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย ในการโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้




https://youtu.be/hdQTSEMRcWY



เครื่องจักร DNC

          DNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Distribution Numerical Control คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

           




https://youtu.be/-M-bL1kM2eE











รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน

  รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน ลำดับที่                                    รายชื่อ                                                              ...